ข้อแนะนำในการเตรียมต้นฉบับ

ชื่อเรื่อง กระชับ ชัดเจน ครอบคลุมเนื้อหาสำคัญ
ชื่อผู้เขียน ระบุชื่อ นามสกุล ตำแหน่งทางวิชาการ และหน่วยงานต้นสังกัดของผู้เขียนทุกคน
บทคัดย่อ บทคัดย่อต้องมีทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษอยู่คนละหน้า โดยบทคัดย่อควรระบุจุดมุ่งหมายและ/หรือวัตถุประสงค์โดยย่อของงานวิจัย ขอบเขตของงานวิจัยและผลวิจัยหลัก
บทนำ กล่าวถึงภูมิหลังของงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนวัตถุประสงค์และขอบเขตของงานวิจัย
วัสดุอุปกรณ์และวิธีการ ควรเขียนบรรยายให้สามารถทำการทดลองซ้ำได้
ผลการทดลอง เขียนบรรยายผล และมีรูปภาพหรือตารางที่ชัดเจนประกอบคำอธิบาย (ถ้ามี)
วิจารณ์ผล กล่าวเน้นถึงการค้นพบที่สำคัญของงานวิจัยและอาจเชื่อมโยงผลเพื่อเปรียบเทียบกับผลงานวิจัยที่เคยมีผู้ค้นคว้าไว้ก่อน
สรุป บรรยายหรือสรุปโดยย่อถึงผลงานที่สำคัญและต้องการเน้น นอกจากนี้ยังอาจให้คำแนะนำหรือข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์แก่ผู้อ่าน
เอกสารอ้างอิง

การอ้างอิงให้ใช้ระบบตัวเลข โดยให้กำหนดหมายเลขเอกสารไว้ในวงเล็บใหญ่ [ ] ท้ายข้อความที่อ้างอิง การอ้างอิงถึงชื่อบุคคลให้ระบุหมายเลขในวงเล็บใหญ่ท้ายนามสกุล หากมีผู้แต่ง 2 คน ให้ใส่นามสกุลทั้งสอง หากมีผู้แต่งมากกว่า 2 คน ให้ใส่นามสกุลของผู้แต่งแรก และตามด้วย “และคณะ” หากอ้างอิงซ้ำรายการเดิมให้ใช้หมายเลขเดิม

การอ้างอิงจากแหล่งตีพิมพ์ต่างๆ ให้เป็นดังนี้

วารสาร
Pongmalai, P., Devahastin, S., Chiewchan, N. and Soponronnarit, S., 2015, “Enhancement of Microwave-Assisted Extraction of Bioactive Compounds from Cabbage Outer Leaves via the Application of Ultrasonic Pretreatment,” Separation and Purification Technology, 144, pp. 37-45.
หนังสือ
Farmer, R.C., Cheng, G.C., Chen, Y-S. and Pike, R.W., 2009, Computational Transport Phenomena for Engineering Analysis, CRC Press, Boca Raton.
บทความในหนังสือที่มีบรรณาธิการ
Devahastin, S. and Mujumdar, A.S. 2014, “Superheated Steam Drying of Foods and Biomaterials,” pp. 57-84, in E. Tsotsas and A.S. Mujumdar (Eds.) Modern Drying Technology, Vol. 5, Wiley-VCH, Weinheim.
รายงานการประชุมวิชาการ
Pongmalai, P., Devahastin, S., Chiewchan, N. and Soponronnarit, S., 2013, “Effect of Ultrasonic Pretreatment on Extractability of Glucosinolates from Cabbage Outer Leaves,” Proceedings of the 6th TSAE International Conference, Hua Hin, Thailand, pp. 119-122.
เอกสารอ้างอิงภาษาไทย
แปลเอกสารอ้างอิงนั้นเป็นภาษาอังกฤษตามรูปแบบข้างต้น และวงเล็บท้ายเอกสารอ้างอิงว่า (In Thai)
ตารางและรูป

ให้แยกตารางและรูปไว้ในส่วนท้ายของบทความ อย่าแทรกตารางและรูปในเนื้อหาของบทความ

ตาราง
ให้ระบุลำดับที่ของตาราง ใช้คำว่า "ตารางที่..." และมีคำอธิบายใส่ไว้เหนือตารางไม่ต้องขีดเส้นใต้
รูป
ให้ระบุลำดับที่ของรูป ใช้คำว่า "รูปที่..." และมีคำอธิบายใส่ไว้ใต้รูป ไม่ต้องขีดเส้นใต้

นอกจากนี้ขอความร่วมมือในการตรวจสอบประเด็นสำคัญดังต่อไปนี้

  1. บทความยังไม่เคยตีพิมพ์หรืออยู่ในระหว่างการพิจารณาเพื่อขอรับการตีพิมพ์ในวารสารอื่น
  2. เตรียมบทความในรูปแบบของไฟล์ OpenOffice, Microsoft Word, RTF หรือ WordPerfect
  3. มีการให้ URLs สำหรับเอกสารที่อ้างอิงจากอินเทอร์เน็ต
  4. พิมพ์บทความโดยใช้ตัวอักษรแบบ TH Sarabun New ขนาด 16 pt. ทั้งบทความภาษาไทยและบทความภาษาอังกฤษ
  5. เตรียมบทความตามข้อกำหนดของวารสารฯ ทั้งในแง่ของรูปแบบและการอ้างอิง
  6. กรุณาใส่เลขหน้าและเลขบรรทัดในไฟล์บทความด้วยทุกครั้ง

รูปแบบการพิมพ์

 

การส่งบทความเพื่อรับการพิจารณา

  1. ส่งไฟล์บทความมาที่ journal@kmutt.ac.th. และกรุณาเสนอชื่อ นามสกุล และอีเมล์ ของผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 3 ท่าน ซึ่งสามารถประเมินบทความได้มาด้วย
  2. วารสารไม่คิดค่าใช้จ่ายใด ๆ ในการประเมินและตีพิมพ์บทความที่ผ่านการพิจารณา และไม่จำเป็นต้องสมัครเป็นสมาชิกของวารสารก่อนการส่งบทความเพื่อรับการพิจารณา